วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

โครงสร้างผิว




เมื่อเซลล์ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนตัวออกมา ชั้นบนเรื่อยๆ ทำให้สามารถแบ่ง epidermis ออกเป็นชั้นต่างๆ โดยแต่ละชั้นก็จะมี keratinocytes ที่อยู่ใน ระยะต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลง Epidermis จะแบ่งออกเป็น 4 หรือ 5 ชั้น ดังนี้



1. Basal Cell Layer or Stratum germinativum ( 1 Layer )

-ชั้นนี้จะอยู่ชั้นล่างสุด ติดกับ basement membrane
-ประกอบไปด้วยเซลล์ที่เรียงตัวกันชั้นเดียว ที่ชื่อว่า basal cells ซึ่งเป็น germinative cell ก่อให้เกิดการพัฒนาและการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน ซึ่งระหว่างเซลล์ Basal ประมาณ 7 ตัว จะมีเซลล์ Melanocytes 1 ตัว
basal cell แบ่งตัวให้กำเนิด keratonocytes และเคลื่อนที่มาชั้นบน กลายเป็นชั้นที่มีชื่อเรียกว่า Stratum spinosum ต่อไป











2 Germinative Layer ( Prickle cell layer or Stratum spinosum ) ( 10-13 Layers )

-ประกอบไปด้วย keratinocyte ที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ หลายเหลี่ยม คล้ายมีหนามยื่นออกมาจากผิวเซลล์ (spine) เซลล์ในชั้นนี้มีหนามแหลมยื่นออกจากตัวเซลล์ จึงเรียกเซลล์ในชั้นนี้ว่า prickle cell
-ชั้นนี้ได้ชื่อตามรูปร่าง ของเซลล์ มีการสร้าง organelles ชนิดใหม่ที่เรียกว่า lamella granules หรือ membrane-coating granules (MCG) กระจายอยู่ทั่วไป

3. Granular Layer or Stratum granulosum ( 2-3 Layers )

-ชั้นนี้ได้ชื่อตามลักษณะของเซลล์ คือ granular cells
-เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างค่อนข้างแบน ภายใน cytoplasm บรรจุด้วย keratohyaline granules
ซึ่งประกอบไปด้วยโปรตีน
• Profilaggrin keratin filament
• Loricrin
ทั้ง filaggrine keratin filament และ cornefied cell envelope จะรวมเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงของ keratin (ขี้ไคล)
-จะเห็นได้ว่า keratohyaline granules เป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญ หากเกิดความผิดปกติขึ้น หรือ ว่าหายไป ก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ในกลุ่มโรค ichthyosis
-เมื่อเซลล์เคลื่อนตัวและเปลี่ยนแปลงมาจนถึงตำแหน่งรอยต่อระหว่าง granular cell กับ corneocyte เซลล์ก็จะเปลี่ยนกลายเป็น corneocytes ในชั้น Stratum corneum


4. Cornifiled Layer ( Horny Layer or Stratum corneum) ( 10-20 Layers )

-ชั้นนี้ประกอบ ด้วยเซลล์ที่ชื่อว่า corneocyte ซึ่งเปลี่ยนมาจาก granular cell
-ภายใน cell ไม่มี organelles ชนิดใด ยกเว้น keratin ที่สมบูรณ์ แล้ว (mature keratin) เซลล์ ในชั้นนี้จะมีขนาดใหญ่ที่สุดใน epidermis
-เซลล์ในชั้นนี้มีหน้าที่ปกป้องผิวจากภยันตรายภายนอก (Mechanical protection), ป้องกันการสูญเสียน้ำไปจากผิวหนัง (Barrier to water loss) และเป็นด่านผ่านทางของยาหรือสารต่างๆ จากภายนอก
-ในชั้นนี้ Desmosome ซี่งเป็นตัวยึดระหว่างเซลล์จะเริ่มถูกทำลาย ทำให้แต่ละเซลล์แยกจากกันเริ่ม ขบวนการที่เรียกว่า Desquamation คือ การลอกหลุดของ corneocytes ออกไปเป็นขี้ไคล (keratin)
-ถ้าหาก ขบวนการ Desquamation ผิดปกติ ก็จะทำให้เกิดโรคในกลุ่ม ichthyosis


-ชั้น Stratum corneum นี้จะมีความหนาบางแตกต่างกันในแต่ละบริเวณของร่างกาย
• Thick skin คือ ผิวหนังที่มีชั้น epidermis หนา โดยเฉพาะstratum corneum พบบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า ซึ่ง thick skin นี้จะไม่มี ขน รูขุมขน และกล้ามเนื้อ Arrector pili muscles (ยึดอยู่ระหว่างต่อมขนและ papillary layer ของหนังแท้ ) แต่จะมีต่อมเหงื่อ eccrine sweat glands เป็นจำนวนมาก
• Thin skin คือ ผิวหนังที่มีชั้น epidermis บาง พบได้ทั่วร่างกาย ยกเว้น บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า ซึ่งผิวหนัง ชนิดนี้จะมี skin derivatives ทุกชนิด คือ รูขุมขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และต่อม Apocrine sweat gland

-Thick skin นั้น จะมีชั้น Stratum lucidum เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชั้น ซึ่งชั้นนี้ จะไม่พบใน Thin skin ทั่วๆ ไป


5. Stratum lucidum

-เป็นชั้นบางๆ แทรกอยู่ระหว่างชั้น granular cell layers และ stratum corneum พบเฉพาะบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าเท่านั้น (Thick skin)
-สาร glycolipid ที่อยู่ใน MCG ถูกปล่อยออกมาอยู่ระหว่างเซลล์มากกว่าบริเวณอื่น จึงเห็นเป็นชั้นนี้ขึ้น ซึ่งชั้นนี้จะไม่พบในผิวหนังบริเวณทั่วๆ ไป (Thin skin)



Layer of epidermis

ป้ายกำกับ: ,

นอนดึกกับสิว

นอนดึกกับสิว

การนอนดึกทำให้สิวเพิ่มขึ้น ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นสิวอักเสบ อาจเป็นเพราะ

1.ร่างกายอ่อนแอ เชื้อ Becteria ในสิวทำให้มีการอักเสบมากขึ้น

2.Hormone เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะใน ผู้หญิง ตัวอย่างเช่น บางคนประจำเดือน หรือขณะตั้งครรภ์ จะมีสิวเพิ่มขึ้น

ป้ายกำกับ: ,

เลเซอร์

... เลเซอร์ ...


เนื่องจากปัจจุบัน การรักษาสิวได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี และผลิตเครื่องมือที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูงในการรักษา เพื่อช่วยลดการใช้ยา หรือ ลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาลง

หลักการ คือ
-ปล่อยช่วงคลื่นแสงจำเพาะ ไปลดหรือทำลายต่อมไขมันใต้ผิวหนัง โดยจะมีผลเฉพาะผิวหนังบริเวณที่ทำการรักษาเท่านั้น เช่น Smooth Beam (Diode Laser) นอกจากช่วยในการทำลายต่อมไขมันแล้ว ยังช่วยกระตุ้นหรือเพิ่มการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ช่วยให้รอยแผลเป็นสิว และ หลุมสิวดีขึ้นอีกด้วย

ข้อด้อย และ ข้อเสีย
- ยังมีราคาค่อนข้างสูง
- เลเซอร์ที่เหมาะสมในการรักษาสิว ยังมีจำนวนน้อย และ ต้องอาศัยแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง
- มีการโฆษณาเกินจริงเกี่ยวกับการรักษาด้วยIPL(ไม่ใช่เลเซอร์) ทำให้มีการเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเลเซอร์และIPL อยู่มาก


*** ควรพิจารณา การรักษาแต่ละชนิดด้วยตัวเอง ว่าเหมาะสมหรือไม่เพียงไร ก่อนการตัดสินใจรักษา ***

ป้ายกำกับ: , ,

วิธีทางกายภาพ

... วิธีทางกายภาพ ...

--- การกดสิว
ใช้รักษาสิวอุดตันแบบชนิดหัวเปิด(สิวหัวดำ) ไม่ใช้รักษาสิวอักเสบ เนื่องจากทำให้สิวมีการอักเสบมากขึ้นได้ หัวสิวบางจุดหายได้ทันที เป็นวิธีรักษาที่รวดเร็วทันใจแต่ก็มีผลข้างเคียงมาก

ข้อด้อย หรือ ข้อเสีย

- รอยแดง, หลุมสิว ;ไม่ว่าการกดสิวจะทำโดยใคร ก็ไม่สามารถการันตีว่า การอักเสบ,รอยแผลเป็น และหลุมสิวจะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการรักษาสิวมีหลายวิธี ไม่ควรเลือกวิธีที่ก่อให้เกิดปัญหา ซึ่งต้องมาตามแก้ไขในภายหลัง
- รอยดำ ชัดเจน มีรอยอยู่นานเป็นปี หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
- เกิดเป็นสิวซีสต์ : จากการบีบทำลายโพรงขน ทำให้โพรงขนเปลี่ยนแปลง การเกิดสิวจึงผิดแปลกไป ทั้งขนาดใหญ่และลึกกว่าเดิม เป็นสิวซีสต์ที่รักษายากขึ้น


--- การฉีดสเตอรอยด์ใต้หัวสิว

การใช้ยาสเตอรอยด์ ฉีดเข้าไปใน ตำแหน่งที่อักเสบนั้น จะทำให้การอักเสบของสิวลดลงอย่างรวดเร็ว แต่สิวอุดตันในตำแหน่งนั้นไม่ได้หายไป และสเตอรอยด์เอง ก็สามารถทำ ให้เกิดสิวอุดตันใหม่ขึ้นมาได้อีก
ข้อพึงระวัง คือ การฉีดยาลึกเกินไปหรือปริมาณยามากเกินไป ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิดการฝ่อ ยุบตัวเป็นหลุม หรือ รอยแดง มากขึ้นได้

ข้อด้อย หรือ ข้อเสีย
- หลุมสิว : เนื่องจากการยุบตัวของผิวหนัง
- เกิดสิวซ้ำๆ, สิวซีสต์ : จากที่โพรงขนถูกทำลาย ทำให้เกิดสิวขึ้นที่เดิม โดยครั้งใหม่จะเป็นสิวที่ผิดปกติจากเดิม จะสังเกตได้ว่า สิวจะมีขนาดใหญ่และลึก เป็นลักษณะซีสต์ การรักษาก็จะยากขึ้น
- ผิวหน้าบาง
- เส้นเลือดผิดปกติ
- มีเลือดออก , เจ็บตัว และอาจเกิดการติดเชื้อมากขึ้น
- อาจเกิดรอยด่างในบริเวณฉีดยาซึ่ง อาจอยู่เป็นสัปดาห์หรือ เป็นเดือน

ป้ายกำกับ: , ,

ยาชนิดรับประทาน

... ยาชนิดรับประทาน ...

เนื่องจากประสิทธิภาพของยาทาค่อนข้างจำกัด จึงใช้ได้ในผู้ที่เป็นสิวไม่รุนแรงนัก ดังนั้นในกรณีที่เป็นสิวค่อนข้างมาก และรุนแรง จำเป็นต้องใช้ยาชนิดรับประทานร่วมด้วย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น


--- ยาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ เช่น Ampicillin, Doxycycline, Erythromycin, Bactrim

ใช้ในกรณีที่มีการอักเสบของสิว เป็นสิวค่อนข้างมาก และการใช้ยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เนื่องจากอาจมีอาการแพ้ยา เชื้อดื้อยา และ ผลข้างเคียงต่างๆ ได้ ที่สำคัญคือ ยาฆ่าเชื้อแต่ละชนิด ใช้ปริมาณยาไม่เท่ากันในแต่ละคน ระยะเวลาที่ใช้ก็แตกต่างกัน
*** ควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือซื้อยารับประทานเอง

หน้าที่
- ฆ่าเชื้อแบคทีเรียเป็นหลัก ทำให้การอักเสบลดลง จำนวนสิวลดลง
ข้อด้อย หรือ ข้อเสีย
- ผมร่วง
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ผื่นคัน ผื่นแพ้ยา หรือ อาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้
- ตับอักเสบ
- ตกขาว เนื่องจากเป็นเชื้อราในช่องคลอด
- ในปัจจุบันมีการซื้อยาปฏิชีวนะใช้เอง จึงเกิดปัญหาเชื้อดื้อยา ทำให้การรักษาสิวยากมากขึ้น


--- ยารับประทานเรตินอยด์ (กรดวิตามินเอ) หรือ Roaccutane

เป็นยาที่ให้ผลดีมากในการรักษาสิวอักเสบรุนแรง ใช้รักษาสิวชนิดดื้อต่อการรักษาชนิดอื่น แต่มีผลข้างเคียงมาก ดังนั้นการใช้ยาต้องควบคุมสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น
*** ควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือ ซื้อยารับประทานเอง

หน้าที่
- ลดการอักเสบ ลดปริมาณและขนาดต่อมไขมัน และเพิ่มการลอกตัวของผิวหนัง
ข้อด้อย หรือ ข้อเสีย
- ราคาค่อนข้างสูง
- ปากแห้ง ผิวหนังแห้ง ริมฝีปากแห้งแตก ตาแห้งตาโดยเฉพาะในคนที่ใส่ Contact Lens
- ผมร่วง เล็บเปราะปวดกล้ามเนื้อ
- ไขมันในเลือดสูง
- เกิดอาการซึมเศร้า
- โรคตับอักเสบ
** ผลข้างเคียงของยาจะสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณของ ยา คือ ยิ่งใช้ยาในปริมาณสูงก็ยิ่งมีผลข้างเคียงที่กล่าว มาแล้วมากขึ้น รุนแรงขึ้น
- ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ถ้าจะตั้งครรภ์หยุดยาอย่างน้อย 1 เดือน เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์หรือแท้ง ได้
** มีความเชื่อว่าหากกินยาครบตามกำหนด จะไม่เป็นสิวอีกเลย ซึ่งปัจจุบันพบว่าหลังได้ยาครบกำหนด ก็สามารถเป็นสิวใหม่ได้ แต่จะลดลงเท่านั้น

--- ยาฮอร์โมน หรือ ยาคุมกำเนิด

เลือกใช้ในผู้หญิงที่มีปัญหาการสร้างฮอร์โมนผิดปกติ สังเกตได้จาก มีขนมาก ประจำเดือนผิดปกติ มีสิวมากร่วมกับ อ้วนผิดปกติ

หน้าที่
- ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งมีผล ลดปัจจัยกระตุ้นการผลิตไขมันจากต่อมไขมัน
ข้อด้อย หรือ ข้อเสีย
- น้ำหนักเพิ่ม
- เป็นฝ้า
- คลื่นไส้ อาเจียน
- คัดตึงเต้านม มะเร็งเต้านม
- ห้ามคนที่มีประวัติเป็น ไมเกรน หรือมีการอุดตันของเส้นเลือด เนื่องจากอาจมีการอุดตันของเส้นเลือดในบริเวณอวัยวะสำคัญ ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิตได้
- ใช้ในเพศชาย อาจมีปัญหาทำให้ฮอร์โมนเพศผิดปกติได้
- ใช้เวลาในการรักษานาน 2-3เดือน จะพบว่าได้ผลดี

ป้ายกำกับ: , ,

ยาทาภายนอก

...ยาทาภายนอก...


เป็นวิธีการรักษาที่ค่อนข้างปลอดภัย กรณีที่เป็นสิวชนิดไม่รุนแรงหรือไม่มีการอักเสบ มักจะใช้ยาทาภายนอก อาจจะใช้ชนิดเดียวหรือหลายชนิดร่วมกัน ดังนี้

--- Benzoyl peroxide เช่น BP, Benzac, Panoxyl, Brevoxyl ,...b>

มีทั้งชนิดครีมหรือเจล 2.5% 5% 10% ใช้ทาก่อนล้างหน้า 5-15 นาที
หน้าที่
- ช่วยลดการอักเสบ ลดปริมาณไขมันใต้ผิวหนัง และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ยานี้จะทำให้ผิวหนังลอกหลุดเร็วขึ้น ทำให้ปริมาณหัวสิวลดลงได้
ข้อด้อย หรือ ข้อเสีย
- ระคายเคือง ผิวแห้ง ลอกเป็นขุย : ในระยะแรกของการใช้ยาควรจะเริ่มใช้ยาในขนาดความเข็มข้นต่ำๆ ทาระยะเวลาสั้นแล้วล้างออก เมื่อผิวหนังทนต่อยาจึงเพิ่มความเข้มข้น และทาไว้นานขึ้นได้
- ใช้เวลาในการรักษานาน หลังทา2-3 สัปดาห์อาการสิวจะดีขึ้น


--- สารลอกผิว เช่น salicylic acid, AHA, BHA หรือ กรดผลไม้ชนิดต่างๆ

มีหลากหลายรูปแบบ เช่น ครีม เจล โลชั่น ครีมล้างหน้า ใช้วันละ 2 ครั้ง
หน้าที่
- ช่วยเร่งการหลุดลอกของผิวหนัง และ หัวสิว สามารถใช้ในการรักษาสิวที่ไม่รุนแรง แต่ไม่ได้ช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรือลดการสร้างไขมัน
ข้อด้อย หรือ ข้อเสีย
- ระคายเคือง ผิวลอกเป็นขุย : เมื่อใช้ความเข้มข้นสูงๆ
- หน้าบางลง : เมื่อใช้ความเข้นข้นที่สูง เป็นเวลานานๆ
- ด่างขาว, เส้นเลือดผิดปกติ, หน้าแดงและบาง : เนื่องจากในสารลอกผิวมีการผสมสารบางอย่างเช่น สเตียรอยด์ โฮโดรควิโนน ร่วมด้วย


--- ยาทาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ เช่นCM ,Clindamycin,Erythromycin,...

มีหลายรูปแบบ ทั้ง โลชั่น เจล ครีม ใช้ทาวันละ 2 ครั้งหลังล้างหน้า
หน้าที่
- ฆ่าเชื้อแบคทีเรียเป็นหลัก ทำให้การอักเสบลดลง จำนวนสิวลดลง
- เมื่อใช้ร่วมกับ Benzoyl peroxide จะทำให้ได้ผลดีมากขึ้น
ข้อด้อย หรือ ข้อเสีย
- การทายาบ่อยๆไม่ได้ช่วยให้สิวหายเร็วขึ้น กลับกันจะทำให้สิวแย่ลง เนื่องจากการระคายเคือง
- อาจมีอาการแพ้ได้
- ใช้เวลาในการรักษานาน อาจจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์จนถึงหลายเดือน
- ยากลุ่มนี้ถ้าใช้ต่อไปนาน ๆ จะทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อต่อยาได้

--- ยาทาเรตินอยด์ ( อนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ ) เช่น Tretinoin, Isotretinoin, Adapalene, ...

มีหลายรูปแบบ เช่น เจล ครีม และหลายความเข้มข้น ใช้ทาวันละครั้งก่อนนอน เนื่องจากสารเรตินอยด์สลายตัว เมื่อโดนแสงแดด
หน้าที่
- ช่วยเพิ่มการลอกตัวของผิวหนัง ลดปริมาณไขมัน และลดการอักเสบ แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
** ใช้รักษาสิวอุดตันได้ดี
ข้อด้อย หรือ ข้อเสีย
- ระคายเคืองต่อผิวหนัง ทำให้สิวอาจแย่ลง หลังใช้ยา 3-4 สัปดาห์แรก ก่อนที่จะดีขึ้นภายหลัง
- ระวังการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์

ป้ายกำกับ: , ,

รักษาสิวด้วยตนเองได้ง่าย ๆ, ด้วยปากและการออกกำลังกาย

แพทย์ผิวหนังโรงพยาบาลศิริราชแนะวิธีรักษาสิวด้วยตนเองรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เพิ่มแร่ธาตุสังกะสี ซึ่งมีมากในข้าวซ้อมมือ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ ย้ำให้ออกกำลังกาย พักผ่อนเพียงพอเพิ่มความต้านทานโรค
รศ.พ.ญ. วรัญญา บุญชัย ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า สิวเกิดจากการอุดตันของต่อมไขมันใต้ผิวหนัง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะเกิดการอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บริเวณต่อมไขมัน อักเสบนูนแดงเรียกว่าสิวหัวช้าง การอักเสบจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น หากภูมิต้านทานของร่างกายลดต่ำลง เช่น ระหว่างมีประจำเดือน อดนอน ความเครียดที่ส่งผลต่อการหลั่งของฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไขมันให้สร้างไขมันเพิ่มมากขึ้น การป้องกันสิวที่ดีจึงควรปรับสมดุลร่างกายเพิ่มภูมิต้านทานโรคด้วยการกินอาหารถูกหลัก ออกกำลังกาย ดื่มน้ำสะอาด 6-8 แก้วต่อวัน หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ สารเสพติดของมึนเมา
รศ.พ.ญ. วรัญญากล่าวว่า ปัจจุบันมีการพูดถึงอาหารรักษาสิว ขอให้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ รับประทานอาหารที่มีแร่ธตุสังกะสีช่วยเสริมประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดการอักเสบและการติดเชื้อของสิว ช่วยให้แผลเป็นหายเร็วขึ้นด้วยการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ซ่อมแซมเซลล์ผิวหนังที่เสียไป นอกจากนี้ วิตามิน วิตามินอี เบตาแคโรทีนในผักผลไม้สีส้ม แร่ธาตุโครเมียมและคลอโรฟิลล์ในผักใบเขียว ยังช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจนในรางกายได้ดีด้วย
"อาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี ในปริมาณมากพอสมควร ได้แก่ข้าวซ้อมมือ อาหารที่มีส่วนผสมของยีสต์ เช่น ข้าวหมากหรือขนมปัง อาหารทะเล เนื้อสัตว์เป็นแหล่งสังกะสีที่ดีเพราะดูดซึมง่ายกว่าพวกพืชผัก"หมอวรัญญากล่าว

ป้ายกำกับ: ,